หากใครที่ยังไม่รู้วิธีการเขียนหนังสือมอบอำนาจ(ของบุคคลทั่วไป) บทความนี้คงจะเป็นประโยชน์แก่คุณเป็นอย่างมาก! เนื่องจากทีมงาน Propretyhub ได้นำวิธีการเขียนหนังสือมอบอำนาจพร้อมทั้งข้อมูลรายละเอียดที่น่าสนใจมาฝาก! ซึ่งจะมีข้อมูลรายละเอียดอะไรบ้าง เราไปติดตามพร้อมๆ กันเลย
หนังสือมอบอำนาจคืออะไร ?
หนังสือมอบอำนาจ คือ หนังสือที่ผู้มอบอำนาจนั้น จะมอบอำนาจให้แก่บุคคลอื่นหรือเราจะเรียกว่า “ผู้รับมอบอำนาจ” ซึ่งอาจจะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ไม่จำกัด เพื่อดำเนินการธุระหรือกิจกรรมแทนผู้มอบอำนาจ เช่น มอบอำนาจในการปฏิบัติงานแทน ทำธุระที่เกี่ยวข้องกับทางกฎหมาย มอบอำนาจการจดทะเบียนแทนหรือแม้แต่ธุระส่วนตัว ก็สามารถใช้หนังสือมอบอำนาจนี้ได้เช่นกัน
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ “หนังสือมอบอำนาจ”
ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจะเป็นผู้ดำเนินการในนามของผู้มอบอำนาจเสมือนผู้ที่มอบออำนาจเป็นผู้ดำเนินการด้วยตนเอง จะมีผลผูกพันทางกฎหมายหมาย โดยผู้มอบอำนาจจะต้องกำหนดเงื่อนไข ระยะเวลา เริ่มต้นและสิ้นสุดในหนังสือมอบอำนาจให้ชัดเจน
ในกรณีที่ผู้รับมอบอำนาจกระทำการเกินขอบเขตอำนาจที่ได้รับนั้น การกระทำส่วนที่เกินมาจะไม่ผูกพันกับผู้มอบอำนาจ แต่! จะผูกพันกับตัวผู้รับมอบอำนาจเอง ซึ่งผู้รับมอบอำนาจจะต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด
ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจต้องไม่เป็นผู้เยาว์ เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
ผู้รับมอบอำนาจนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือจะเป็นนิติบุคคลก็ได้
โดยทั่วไปแล้วมักจะมีบุคคลที่ 3 เข้ามาเพื่อเป็นพยานรับรู้อีกหนึ่งคนหรือบางหนังสือมอบอำนาจให้มีพยานอย่างน้อย 2 คน
รายละเอียดที่ต้องมีในแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจ (บุคคลทั่วไป )
เขียนที่
วัน/เดือน/ปี ที่ทำหนังสือมอบอำนาจ บุคคลทั่วไป
ข้อมูลผู้มอบอำนาจ เช่น ชื่อ สัญชาติ อายุ ที่อยู่
ข้อมูลผู้รับมอบอำนาจ เช่น ชื่อ สัญชาติ อายุ ที่อยู่
เรื่องที่รับมอบอำนาจ
ลงชื่อผู้รับมอบอำนาจ
ลงชื่อผู้รับมอบอำนาจ
ลงชื่อพยานในหนังสือมอบอำนาจ
แต่ถ้าคุณไม่อยากจะต้องมานั่งร่างหนังสือมอบอำนาจเอง คุณก็สามารถเข้าไปดาวโหลดแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจแบบ ฟรีๆ ได้ที่ >> คลิก