ในปีภาษี 2568 กรมสรรพากรได้เปิดตัวมาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” เพื่อสนับสนุนการบริโภคในประเทศกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ที่ช่วยให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล) สามารถลดหย่อนภาษีจากค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการที่เข้าเงื่อนไขมายื่นลดหย่อนภาษี สงสัยกันแล้วใช่ไหมค่ะว่าสินค้าอะไรบ้างที่สามารถนำมาลดหย่อนได้? บทความนี้มีคำตอบและไขทุกข้อข้องใจให้กับทุกคนค่ะ
“Easy E-Receipt 2.0” คืออะไร ?
มาตรการที่ที่ช่วยตุ้นเศรษฐกิจ ในประเทศในปี 2568 โดยเปิดโอกาสให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถหักลดหย่อนภาษีจากการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่เข้าเงื่อนไขตามที่กำหนด ได้สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท
มาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” เริ่มใช้ได้เมื่อไหร?
ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
สินค้าและบริการที่สามารถนำมาลดหย่อนได้
- สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เช่น คอมพิวเตอร์ เสื้อผ้า ของใช้ในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้่ เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
- สินค้าและบริการบางรายการ ที่ไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Non-VAT) เช่น หนังสือ หนังสือพิมพื นิตยาสาร และ E-Book
- สินค้า OTOP หรือสินค้า/บริการจากวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยต้องเป็นสินค้าที่ต้องมีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เท่านั้น
สินค้าและบริการที่ไม่เข้าร่วม “Easy E-Receipt 2.0”
- สุรา เบียร์ และไวน์
- ยาสูบ
- น้ำมัน ก๊าซ และค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ
- รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (รถจักรยานยนต์ รวมถึงรถจักรยานที่ติดเครื่องยนต์) และ เรือ
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์และ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
- ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าว นอกเหนือจากระยะเวลาของมาตรการ
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
- ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และค่าที่พัก โรงแรม ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย หรือค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม
เอกสารอะไรที่ใช้ลดหย่อนในมาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” มีอะไรบ้าง?
มีแค่อย่างใดอย่างหนึ่งก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีในมาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” ได้ โดยต้องระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย
สำหรับมาตรการ "Easy E-Receipt 2.0" จะช่วยสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศในช่วงต้นปี 2568 ซึ่งจะเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจในภาพรวมขยายตัวได้ตามเป้าหมาย โดยคาดว่าจะทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นประมาณ 70,000 ล้านบาท
อัพเดทข่าวสารเกี่ยวกับอสังหาฯ คอนโด บ้าน ที่ดินและอื่น ๆ ก่อนใคร ต้องที่นี่ : propertyhub.in.th