Propertyhub
propertyhub logo
Reviewคู่มือ/ซื้อ/ขาย/เช่าHome & LivingNewsนายหน้ามือโปร
ค้นหาบทความclock

เปิด “ขั้นตอนการประมูลทรัพย์สินจากกรมบังคับคดี” ที่นักลงทุนควรรู้

กฎหมายลงทุนอสังหาฯ 
BY
KAiiW.
โพสต์เมื่อ
10 September 2023

การประมูลทรัพย์สินจากกรมบังคับคดีไม่ได้เป็นเรื่องที่แปลกใหม่แต่อย่างใดในวงการอสังหาฯ แต่วิธีการดังกล่าวนี้อาจจะเหมาะกับนักลงทุนกระเป๋าหนักพร้อมจ่าย จนทำให้นักลงทุนหน้าใหม่หลายๆ คน ยังไม่ค่อยรู้วิธีการประมูลทรัพย์สินจากกรมบังคับคดีมากสักเท่าไหร่นัก ดังนั้นในวันนี้ทางทีมงาน Propertyhub จึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการประมูลทรัพย์สินจากกรมบังคับคดี” ที่นักลงทุนควรรู้มาฝาก เผื่อว่าข้อมูลต่างๆ ที่เรากำลังจะกล่าวถึงต่อไปนี้อาจจะเป็นแนวทางในการสร้างผลกำไรให้แก่นักลงทุนมือใหม่ได้ในอนาคต เพราะหากจะพูดภาษาแบบง่ายๆ เลยก็คือ...

“การประมูลทรัพย์สินจากกรมบังคับคดี คือ การประมูลสินทรัพย์มือสองที่ไม่ว่าจะเป็นคอนโด บ้าน ที่ดิน ฯลฯ ในราคาถูกกว่าท้องตลาดค่อนข้างที่จะมากพอสมควร (แต่ก็ต้องใช้ความเร็วและทุนค่อนข้างสูงหากต้องสู้ราคากับผู้ประมูลท่านอื่นๆ) ดังนั้นหากชนะการประมูลได้ในราคาที่ถูก การปล่อยเช่าหรือขายต่อในอนาคตก็จะสามารถสร้างผลกำไรให้แก่นักลงทุนได้นั่นเอง”

ทรัพย์สินขายทอดตลาดจากรมบังคับคดี คืออะไร ?

อันดับแรกเราต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่า “ทรัพย์สินขายทอดตลาดจากรมบังคับคดี” คืออะไร ? ซึ่งทรัพย์สินขาดทอดตลาดจากกรมบังคับคดี ก็คือ... การนำทรัพย์สินไปจำนองกับเจ้าหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการกู้ยืม และลูกหนี้ไม่สามารถคืนเงินได้ตามกำหนดจึงทำให้เกิดการฟ้องร้อง โดยทรัพย์สินของลูกหนี้ก็จะต้องถูกขายเพื่อนำเงินไปชดใช้หนี้ และกรมบังคับคดีจะมีหน้าที่นำสินทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ดิน คอนโด ฯลฯ ออกมาประมูลขายตามคำตัดสินของศาลหรือที่เรียกว่าหมายเลขคดีแดง โดยทรัพย์สินที่กรมบังคับคดีนำออกมาขายทอดตลาดนั้น มีจุดประสงค์หลักๆ ก็คือนำเงินที่ได้รับจากการประมูลมาจ่ายหนี้ให้กับเจ้าหนี้ และราคาเปิดประมูลทรัพย์ขายทอดตลาดนั้นกรมบังคับคดีมักจะตีต่ำกว่าราคาตามท้องตลาด ส่งผลให้นักลงทุนเกี่ยวกับอสังหาฯ หรือผู้คนทั่วไปมีความต้องการที่จะเข้าไปประมูลทรัพย์สินต่างๆ นั่นเอง

กฎระเบียบและข้อบังคับที่ควรรู้ก่อนไปประมูลทรัพย์สินจากกรมบังคับคดี

  1. หากผู้เข้าร่วมการประมูลสามารถประมูลซื้อทรัพย์สินได้แล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลง เพิ่มหรือลดชื่อผู้ซื้อได้ ดังนั้นควรจะตรวจสอบรายชื่อผู้ประมูล พร้อมสำรวจตัวเองว่าหากซื้อได้แล้วจะสามารถชำระเงินตามกำหนดได้หรือไม่
  2. หากต้องการให้ผู้อื่นเข้าร่วมการประมูลแทน จะต้องยื่นหนังสือมอบอำนาจก่อนเข้าร่วมการประมูล หากไม่มีหนังสือมอบอำนาจ จะถือว่าผู้นั้นเข้าร่วมประมูลในนามของตนเอง
  3. การประมูลราคาใช้วิธีให้ราคาด้วยปากเปล่า
  4. หากเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีเห็นว่าการประมูลมีราคาต่ำเกินไป เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสามารถเพิกถอนทรัพย์จากการขายทอดตลาดได้
  5. การประมูลราคาจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีขานราคาประมูล แล้วนับ 1 ถึง 3 แล้วเคาะไม้
  6. เมื่อการประมูลเริ่มขึ้นแล้ว คณะกรรมการกรมบังคับคดีจะเป็นผู้กำหนดราคาเริ่มต้น ซึ่งการประมูลจะกำหนดไว้ที่ 4 ครั้ง หากการประมูลแต่ละครั้งไม่มีผู้ซื้อ ครั้งถัดไปจะลดราคาเริ่มต้นทีละ 10% ดังนี้
    - ครั้งที่ 2 ลดราคาเหลือ 90%
    - ครั้งที่ 3 ลดราคาเหลือ 80%
    - ครั้งที่ 4 เป็นต้นไป ลดราคาเหลือ 70%
  7. หากผู้ประมูลสามารถประมูลซื้อทรัพย์ได้ แต่ไม่สามารถชำระเงินได้ครบถ้วน กรมบังคับคดีจะนำทรัพย์นั้นมาขายทอดตลาดใหม่ ถ้าการประมูลครั้งใหม่ได้ราคาต่ำกว่าการประมูลครั้งก่อน ผู้ซื้อเดิมจะต้องชำระเงินส่วนต่างของราคานั้น
  8. วันที่และช่วงเวลาในการเปิดประมูลถือได้ว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะไม่ได้มีการเปิดให้ประมูลตลอด ดังนั้นผู้ที่ต้องการจะเข้าร่วมการประมูล จึงควรจำวันและเวลาให้ดี

เตรียมหลักฐานในการประมูลทรัพย์สินจากกรมบังคับคดี

  • บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรประจำตัวข้าราชการ/บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ พร้อมกับสำเนาและเขียนรับรองถูกต้องแล้ว 1 ฉบับ
  • กรณีที่ผู้ซื้อเป็นนิติบุคคล จะต้องมีเอกสารรับรองนิติบุคคลที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 1 เดือน
  • หากต้องการให้ผู้อื่นเข้าประมูลแทน จะต้องมีเอกสารดังนี้
    ⁠- กรณีบุคคลทั่วไป จะต้องมีใบมอบอำนาจ ปิดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมกับสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับอำนาจเขียนรับรองสำเนาถูกต้อง
    - กรณีนิติบุคคล จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ หนังสือรับรองนิติบุคคล สำเนาบัตรประจำตัวของผู้มีอำนาจในนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจเขียนรับรองสำเนาถูกต้อง
  • เงินสดหรือแคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายสำนักงานกรมบังคับคดี เพื่อเป็นหลักประกันในการประมูล จำนวนเงินที่ต้องนำมาเป็นหลักประกัน สามารถแบ่งได้ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
    - ราคาประเมินไม่เกิน 500,000 บาท วางหลักประกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของราคาประเมิน
    - ราคาประเมิน 500,000 บาทขึ้นไป วางหลักประกัน 50,000 บาท
    - ราคาประเมิน 1,000,000 บาทขึ้นไป วางหลักประกัน 250,000 บาท
    - ราคาประเมิน 5,000,000 บาทขึ้นไป วางหลักประกัน 500,000 บาท
    - ราคาประเมิน 10,000,000 บาทขึ้นไป วางหลักประกัน 1,000,000 บาท
    - ราคาประเมิน 20,000,000 บาทขึ้นไป วางหลักประกัน 2,500,000 บาท
    - ราคาประเมิน 50,000,000 บาทขึ้นไป วางหลักประกัน 5,000,000 บาท
    - ราคาประเมิน 100,000,000 บาทขึ้นไป วางหลักประกัน 10,000,000 บาท
    - ราคาประเมิน 200,000,000 บาทขึ้นไป วางหลักประกันตามที่ผู้ได้รับมอบหมายกำหนด

    *** ยกเว้นผู้เข้าประมูลเป็นผู้มีสิทธิ์ขอหักส่วนได้ใช้แทน เช่น เจ้าหนี้ตามคำสั่งศาล ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับลูกหนี้ตามคำพิพากษา คู่สมรสของลูกหนี้ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ที่ไม่ต้องวางหลักประกัน แต่หากทำการซื้อได้แล้วจะต้องวางเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คจำนวน 5% ของราคาเริ่มต้นในวันนั้น ***

สรุป 5 ขั้นตอนการซื้อทรัพย์สินที่ขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดี

  1. ค้นหาทรัพย์สินที่ต้องการประมูล - เช่น บ้าน คอนโด อสังหาฯในรูปแบบต่างๆ โดยสามารถเข้าไปหาได้ในเว็บไซต์ของกรมบังคับคดี (คลิก) หรือแอพพลิเคชั่น LED Property Plus ซึ่งจะสามารถเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล และประเภทของทรัพย์สินได้เลยทันที เมื่อเจอทรัพย์สินที่ถูกใจก็ควรที่จะต้องไปตรวจสอบสภาพทรัพย์สินด้วยตัวเอง (เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สินมือ 2 ที่อาจจะมีการทรุดโทรมไปตามเวลาหรือมีรูปภาพไม่ตรงปก) นอกจากนี้แล้วทางเว็บไซต์จะมีการบอกราคาประเมินของทรัพย์นั้นๆ ให้ทราบ รวมไปถึงแผนที่/วัน/เวลาในการประมูลและเงื่อนไขต่างๆ ที่ผู้สนใจจำเป็นจะต้องทราบ ทั้งจำนวนวงเงินหลักประกันและราคาเริ่มต้นในการประมูล
  2. ลงทะเบียน – ในวันที่จะทำการประมูลทรัพย์สินนั้น ผู้ประมูลจะต้องลงทะเบียนกับทางเจ้าหน้าที่ พร้อมวางเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คเป็นหลักประกันและทำสัญญาในการเสนอราคา จึงรับป้ายประมูลและเข้าไปนั่งในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้
  3. เจ้าพนักงานกำหนดราคาเริ่มต้น – ก่อนเริ่มการประมูล จะมีเจ้าหน้าที่มาอธิบายเงื่อนไขในการประมูลให้ทราบ และกำหนดราคาเริ่มต้นของทรัพย์ที่จะเปิดประมูล
  4. ผู้ประมูลยกป้ายเสนอราคา – เมื่อเจ้าหน้าที่เปิดประมูลจะมีการกำหนดว่าจะเพิ่มราคาได้ครั้งละเท่าไหร่ และผู้ที่สนใจประมูลทรัพย์สินนั้นๆ ก็สามารถยกป้ายเพื่อขอเสนอราคาตามราคาเริ่มต้นหรือจะยกป้ายสู้ราคากับผู้ประมูลท่านอื่นๆ ได้
  5. เจ้าหน้าที่เคาะไม้ให้ผู้ชนะประมูล - เมื่อทรัพย์สินถูกประมูลจนได้ราคาสูงสุด เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีก็จะถามหาผู้คัดค้านจากฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (ตัวแทนโจทก์หรือจำเลย) หากไม่มีผู้ใดคัดค้าน เจ้าหน้าที่ก็จะเคาะไม้ขายทรัพย์สินนั้นๆ ให้ผู้ชนะประมูล ซึ่งผู้ชนะประมูลก็จะต้องชำระเงินและโอนกรรมสิทธิ์ในขั้นตอนต่อไป ส่วนผู้แพ้ประมูลก็รับเงินประกันคืนได้ทันที

ขั้นตอนหลังการประมูลทรัพย์ขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดี

  • ทำสัญญาซื้อขาย – ผู้ที่ชนะการประมูลจะต้องทำสัญญาซื้อขายและชำระเงินตามราคาที่ประมูล ณ วันที่ซื้อ หรือถ้าหากรอผลการอนุมัติสินเชื่อจากทางธนาคาร ก็จะต้องมีเหตุผลอันสมควรหรือมีเอกสารยืนยันจากธนาคาร จึงจะสามารถขยายระยะเวลาได้ 15-90 วัน
  • โอนกรรมสิทธิ์ - หลังจากที่ผู้ชนะการประมูลชำระเงินเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานกรมที่ดิน ให้ผู้ชนะการประมูลไปดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ประมูลได้จากกรมบังคับคดี ณ สำนักงานที่ดินด้วยตัวเอง พร้อมมอบเอกสารสิทธิ์และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการโอนกรรมสิทธิ์
  • ชำระค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆ – ในการเข้าร่วมประมูลทรัพย์ขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดีจะมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ ดังนี้
    - เงินวางมัดจำในการประมูล
    - เงินส่วนต่างหากประมูลได้
    - ค่าอากรแสตมป์
    - ค่าโอน 2% ของราคาประเมินที่ดิน
    - ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คิดจากราคาประเมินของสำนักงานที่ดิน
    - ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาขายหรือราคาประเมินสำนักงานที่ดิน
    - ค่าประเมินราคาทรัพย์สิน
    - ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย

รายละเอียดข้างต้นคงพอจะทำให้นักลงทุนมือใหม่ได้รู้จักทรัพย์สินขายทอดตลาด และวิธีการประมูลทรัพย์สินจากกรมบังคับคดีได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นหากคุณเป็นนักลงทุนมือใหม่(ที่พร้อมจ่าย) การไปประมูลทรัพย์สินจากกรมบังคับคดีก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ และอาจจะทำให้คุณได้เจอกับอสังหาฯ ที่อาจจะเปลี่ยนเป็นผลกำไรให้คุณได้ในอนาคต แต่ถ้าหากใครที่ต้องการเลือกซื้อคอนโดมือสองทำเลสวย แบบที่ไม่ต้องไปแย่งกับใคร คุณก็สามารถเข้าไปเลือกชมได้ที่ Propertyhub เว็บไซต์ที่รวบรวมโครงการคอนโดไว้กว่า 4,000 โครงการ ทั่วประเทศ

ขอขอบคุณข้อมูลทั้งหมดจาก : Renthub Blog

แชร์เนื้อหา
KAiiW.
ช่องทางในการติดตาม
LINE@ Add Friend
บทความที่เกี่ยวข้อง

คู่มือการใช้งานลืมรหัสผ่าน และเปลี่ยนรหัสผ่าน Propertyhub.in.th

สำหรับบทความนี้ทีมงาน Propertyhub ได้รวมขั้นตอนการเปลี่ยนรหัสผ่านสำหรับผู้ที่ลืมรหัสเข้าเว็บไซต์ โดยเราพยายามอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุด หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกท่านทราบขั้นตอนการเปลี่ยนรหัสผ่านที่ระเอียดครบถ้วนนะคะ

โพสต์เมื่อ15 November 2024

ลงประกาศอสังหาฯ ที่ propertyhub ดีอย่างไร

วันนี้ทีมงาน Propertyhub ได้รวบรวมข้อดีของการใช้เว็บ propertyhub.in.th สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของ ที่ต้องการทำตลาดหรือเป็น นายหน้าอสังหาฯ ที่ต้องการช่องทางปล่อยอสังหาอย่างมีคุณภาพ เราจึงขอรวม ข้อดีที่อยากให้ทุกท่านได้ลองใช้เว็บไซต์ เพื่อเป็นอีกช่องหนึ่งทางที่ช่วยให้ทุกท่านลงประกาศได้อย่างมีประสิทธิภาพและปล่อยอสังหาฯ ได้ง่ายขึ้น หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความนี้นะคะ

โพสต์เมื่อ14 November 2024

สถิติผู้ใช้งานเว็บไซต์ Q3 2024 | www.propertyhub.in.th

สำหรับบทความนี้จะเป็นการนำเสนอข้อมูลสถิติผู้ใช้งานเว็บไซต์ ในไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม - กันยายน 2567) ที่เราได้รวบรวมมาจากระบบหลังบ้าน และ Google analytic โดยสถิติที่นำเสนอนี้จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ใช้งานในฝั่งอสังหาฯ ประเภทคอนโดมิเนียม ทั้งผู้ค้นหาเพื่อเช่า และผู้ค้นหาเพื่อซื้อค่ะ ซึ่งจะมีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจบ้าง เรามาเริ่มกันเลยค่ะ

โพสต์เมื่อ22 October 2024

ขายฝาก vs จำนอง แตกต่างกันอย่างไร ?

สำหรับการขายฝากและการจำนองนั้น หากมองแบบผิวเผินแล้วเราก็เชื่อเหลือเกินว่าหลายๆ คน ยังคงแยกนิติกรรมทั้ง 2 รูปแบบนี้ไม่ออก จนทำให้เกิดความสับสนในการตัดสินใจเลือกทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นในบทความนี้ทางทีมงาน Propertyhub จึงจะขอนำข้อมูลรายละเอียดและความแตกต่างของการขายฝากและการจำนองมาอธิบายในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ให้คุณได้ทำความเข้าใจกัน ซึ่งถ้าพร้อมแล้วเราไปพบกับข้อมูลที่น่าสนใจนี้พร้อมๆ กันเลย

โพสต์เมื่อ09 September 2024

บทความแนะนำ

รวมขั้นตอนการรับโอนคอนโด พร้อมเอกสารการโอนที่ต้องจัดเตรียม

รวมขั้นตอนการรับโอนคอนโด พร้อมเอกสารการโอนที่ต้องจัดเตรียม

ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์อย่างคอนโดนั้น นอกเหนือจากราคาขายคอนโดแล้ว สิ่งที่ต้องทราบนอกเหนือจากนี้ก็คือเรื่องของ ขั้นตอนต่างๆ ที่ผู้ซื้อทุกรายจะต้องทำความเข้าใจ เพราะไม่ว่าจะเป็นการ ซื้อคอนโด มือหนึ่งจากผู้พัฒนาโครงการ หรือการซื้อคอนโดมือสองต่อจากผู้เป็นเจ้าของก็ตาม ขั้นตอนของการ โอนคอนโด คือเรื่องที่จะสร้างความปวดหัวไม่น้อยสำหรับใครที่ไม่เคยทำความเข้าใจมาก่อน

โพสต์เมื่อ18 August 2021
วิธีเช็คแนวเวนคืนที่ดิน(เบื้องต้น) ก่อนตัดสินใจซื้ออสังหาฯ

วิธีเช็คแนวเวนคืนที่ดิน(เบื้องต้น) ก่อนตัดสินใจซื้ออสังหาฯ

ทางทีมงาน Propertyhub จะขอพาคุณไปรู้จักกับวิธีเช็คแนวเวนคืนที่ดิน(เบื้องต้น)ก่อนตัดสินใจซื้ออสังหาฯ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันปัญหาการเวนคืนที่ดิน ที่ขอบอกได้เลยว่าไม่มีใครอยากจะเจอ

โพสต์เมื่อ08 September 2023
เช็กราคาประเมินที่ดิน 77 จังหวัด ในปี 2567 ของกรมธนารักษ์

เช็กราคาประเมินที่ดิน 77 จังหวัด ในปี 2567 ของกรมธนารักษ์

วิธีการเช็กราคาประเมินที่ดินในปี 2567 ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก เพราะสามารถทำได้ด้วยตัวเองผ่าน 2 ช่องทางหลัก ๆ คือ ทางเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ และ LandsMaps ของกรมที่ดิน โดยทั้ง 2 วิธีการดังกล่าว เป็นการเช็กราคาประเมินที่ดินผ่านทางออนไลน์ และไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งวิธีการเช็กราคาประเมินที่ดินของทั้ง 2 ช่อง มีดังนี้

โพสต์เมื่อ03 March 2024

คอนโดให้เช่ายอดนิยม

propertyhub logo

เมนูหลัก

ติดต่อเรา

บริษัท ซิมเปิ้ล อินเทอร์เน็ต
จํากัด เลขที่ 242 ห้องเลขที่ A210 อาคาร A
ศูนย์การค้าเพลินนารี่มอลล์
ถนนวัชรพล แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน
กรุงเทพมหานคร 10230
Line QrCode
Line ID : @propertyhub
โทร. 02-026-3049

support@propertyhub.in.th

Line QrCode
Line ID : @propertyhub
โทร. 02-026-3049

support@propertyhub.in.th

twitter icon
youtube icon
instagram icon
Copyright © 2019-2020 Zimple Internet Co., Ltd. , All rights reserved.
facebook icon
twitter icon
youtube icon
instagram icon