ในยุคที่เราสามารถซื้อ – ขายอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างสบายใจ แต่ถึงกระนั้นก็ต้องไม่ลืมที่จะเลือกผู้มีความเชี่ยวชาญมาช่วย อย่างนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ที่คอยอำนวยความสะดวกพูดคุยเจรจาโดยที่เราไม่ต้องทำอะไรเลย แถมยังจัดเตรียมเอกสารให้ด้วย แน่นอนว่าการเลือกใช้บริการนี้ก็ต้องมีสัญญานายหน้าเป็นเรื่องปกติ ทว่าบางคนอาจจะยังไม่รู้จักมากพอ จึงจำเป็นต้องศึกษาอย่างถี่ถ้วน
สัญญานายหน้าคืออะไร ?
อธิบายให้เข้าใจเลยก็คือ เป็นตัวแทนด้านอสังหาริมทรัพย์ซึ่งที่นิยมที่สุดก็คงเป็นเรื่องคอนโด โดยผู้ที่ทำอาชีพนี้ต้องมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเอกสารและขั้นตอนในการซื้อ – ขายอย่างดีที่สุด แต่เมื่อต้องทำการซื้อ – ขายผ่านตัวแทนแบบนี้แล้วควรมีการทำสัญญา ที่ส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องของค่าตอบแทนที่จะได้รับระหว่างผู้ขายและตัวแทน แน่นอนว่าผู้ขายต้องจ่ายให้ตัวแทนเสมอหลังจากที่ปิดการขายได้สำเร็จตามที่ต้องการ ทั้งนี้ สิ่งที่อยากแนะนำมาก ๆ เลยก็คือความน่าเชื่อถือของตัวแทนที่เราเลือกมาช่วยขาย อาจจะดูจากรีวิวคนอื่น ๆ ที่เคยใช้บริการก่อนก็ได้ หรือสถานที่ตั้งบริษัทสามารถเดินทางไปติดต่อได้จริง เปิดมาอย่างยาวนานหลายสิบปียิ่งดี เพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้ตัวเอง ไม่ทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง
สัญญานายหน้ามีส่วนจำเป็นอะไรที่ต้องรู้บ้าง ?
หากจะลองศึกษาเรื่องส่วนจำเป็นที่มีในสัญญาอย่างถี่ถ้วน แบ่งออกได้เป็น 8 รายละเอียดหลัก ๆ ภายในสัญญาแต่ละคนก็จะขึ้นอยู่กับการเรียงลำดับความสำคัญตามที่ตกลง ได้แก่
1. รายละเอียดการทำสัญญา
ส่วนแรกที่ผู้คนนิยมมีที่สุดเลยก็คือส่วนช่วงต้นที่มีในสัญญา ที่จะต้องมีการระบุเกี่ยวกับเวลาต่าง ๆ ตามที่ตกลงในการทำสัญญา เช่น เวลา วัน/เดือน/ปี สถานที่ เป็นต้น ยิ่งละเอียดยิ่งเป็นผลดี หมดห่วงเรื่องโดนหลอกหรือเกิดข้อผิดพลาดกลางคัน
2. ส่วนของนายหน้าหรือตัวแทนในสัญญา
สำหรับส่วนของตัวแทนในสัญญานั้นหลังจากที่รู้เกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ขาย หรือเจ้าของทรัพย์เรียบร้อยแล้ว ก็มาเริ่มระบุรายละเอียดต่าง ๆ ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้เลย ข้อมูลที่ควรมีก็ทั่วไป เช่น ชื่อ – นามสกุล ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน วัน/เดือน/ปีเกิด อายุ ที่อยู่ปัจจุบัน เป็นต้น ที่สำคัญต้องระบุแทนคำว่านายหน้า หรือตัวแทนอสังหาริมทรัพย์เอาให้อย่างใดอย่างหนึ่ง
3. ส่วนของผู้ขาย หรือเจ้าของทรัพย์ในสัญญา
เป็นส่วนที่ต้องอธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้ขาย หรือเจ้าของทรัพย์ ส่วนใหญ่จะกำหนดเป็นข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ – นามสกุล วัน/เดือน/ปีเกิด อายุ ที่อยู่ทั้งตามทะเบียนบ้านและปัจจุบันเหมือนกับข้อที่ 2 เลย เป็นต้น และต้องระบุว่าในสัญญาต่อไปนี้จะแทนคำว่าผู้ขายหรือผู้ให้สัญญา
4. รายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินในสัญญา
ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องบอกรายละเอียดทั้งหมดที่มีอยู่ในสัญญากับตัวแทน เป็นข้อมูลที่ตั้งของทรัพย์ที่เราประสงค์จะขาย เช่น ประสงค์ขายคอนโด ก็ต้องมีเลขโฉนดห้อง เลขที่ห้อง ที่ตั้ง ถนน ซอย แขวง/เขต และจังหวัด เป็นต้น
5. ระยะเวลาที่เริ่มและสิ้นสุด
สิ่งที่ขาดไม่ได้ในสัญญาอีกอย่าง ก็คือเรื่องของระยะเวลาที่เริ่มและระยะเวลาที่สิ้นสุด ซึ่งมีผลบังคับใช้เกี่ยวกับการผูกพันระหว่างคู่สัญญาที่ต้องกำหนดตั้งแต่เริ่มต้นทำและเวลาที่สิ้นสุด นอกจากนี้ยังต้องบอกเกี่ยวกับวิธีการขยายระยะเวลาด้วย ที่ต้องบอกว่าให้แจ้งภายในกี่วัน ก่อนถึงวันสิ้นสุดจริงที่กำหนด กรณีมีการขยายระยะเวลานอกเหนือจากในสัญญากำหนดต้องมีเงื่อนไขอื่นมาเกี่ยวข้อง และตกลงร่วมกัน พร้อมทำสัญญาฉบับใหม่อีกครั้งขึ้นมาเก็บไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
6. ค่าตอบแทนที่ตัวแทนจะได้รับ
ถือเป็นอีกส่วนที่จำเป็นไม่แพ้กันนั่นคือเรื่องรายละเอียดค่าตอบแทนที่ตัวแทนจะได้รับ ต้องตรวจสอบให้รอบคอบ มีการระบุจำนวนค่าตอบแทนกรณีที่ปิดการขายได้แล้วตามต้องการว่าท้ายที่สุดจะได้เท่าไหร่ของราคาขาย ระบุเป็นตัวเลขพร้อมตัวหนังสือชัดเจนได้ยิ่งดี นอกจากนี้ต้องบอกเกี่ยวกับช่องทาง วิธีการจ่ายค่าตอบแทน หรือสถานที่จ่ายค่าตอบแทนอย่างละเอียดด้วย หากมีการจ่ายแบบแบ่งเป็นงวด หรือรายเดือนต้องระบุตัวเลขและระยะเวลาที่จ่ายที่แน่นอนที่สุด ที่ขาดไม่ได้คือมูลค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ระบุไว้ในสัญญาตัวแทนส่วนนี้
7. การลงลายมือชื่อและพยานที่รับรู้
เรียกว่าเป็นข้อมูลในสัญญาส่วนสุดท้ายที่ต้องลงลายมือชื่อระหว่างตัวแทนขายอสังหาริมทรัพย์ เช่น คอนโด บ้าน ที่ดิน ฯลฯ และพยานที่รับรู้ในการทำสัญญาฉบับนี้ขึ้น ทำให้สัญญามีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด กำหนดให้มีพยานต่อสัญญาจำนวน 2 คน ที่ต้องมาจากฝั่งผู้ขาย 1 คน และฝั่งตัวแทนขาย 1 คน เมื่อลงลายมือชื่อในสัญญาเสร็จสิ้นแล้วก็เก็บสัญญาไว้ที่ตัวเองคนละ 1 ชุดเป็นอันเสร็จ
8. เงื่อนไขทั้งหมดและข้อบ่งชี้เมื่อยกเว้น
อีกเรื่องที่มองข้ามไปไม่ได้เลยก็คือเงื่อนไขทั้งหมดและข้อบ่งชี้ทันทีเมื่อมีการยกเว้นเกิดขึ้น ได้แก่ เหตุที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้ตัวแทนแม้จะยังไม่มีการซื้อ – ขายอสังหาริมทรัพย์ หรือเหตุที่ไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้ หรือเหตุในการที่คนใดคนหนึ่งทำผิดสัญญา ต้องมีการบอกรายละเอียดข้อนั้น ๆ อย่างถี่ถ้วนที่สุด
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสัญญานายหน้าค่อนข้างเป็นเอกสารสำคัญที่ระบุถึงรายละเอียดต่างๆ ทั้งต่อตัวแทนขายอสังหาริมทรัพย์เองและตัวผู้ขายเอง โดยเฉพาะเรื่องค่าตอบแทนที่ไม่อาจละเลยกันไปได้ แน่นอนว่าก่อนจะลงลายมือชื่อยอมรับควรอ่านรายละเอียดอย่างถี่ถ้วนทั้ง 2 ฝ่าย หากข้อไหนไม่เหมาะสมควรหารือแก้ไขให้เหมาะสม
รับรองว่าไม่มีปัญหาเกิดขึ้นภายหลังไปได้ พาให้ปวดหัวเสียเวลาฟ้องร้องกันไปอีก
สามารถติดตามข่าวสาร และบทความดีๆของเราได้ที่ Facebook : Propertyhub
A Journey to Discover your Next Dream Condo.
คอนโดทุกโครงการที่คุณตามหา อยู่ที่นี่ Propertyhub