สำหรับทาวน์โฮม ซึ่งเป็นบ้านที่มีขนาดพื้นที่ค่อนข้างจำกัด
และสร้างติดกันหลายหลัง
แต่ละบ้านใช้กำแพงบ้านร่วมกัน มีพื้นที่ว่างแค่บริเวณด้านหน้าและด้านหลังระหว่างรั้วตามกฎหมายเกี่ยวกับระยะร่น โดยบ้านชนิดนี้มักถูกสร้างโดยใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า มักจะถูกออกแบบตามกฎหมายให้บริเวณบ้านกินพื้นที่ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นการที่จะต่อเติมสิ่งก่อสร้างใดๆเข้าแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย นอกจากถ้าหลังต่อเติมและพิจารณาระยะร่นตามด้านบนแล้วมีพื้นที่ว่างมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์จึงจะสามารถต่อเติมได้ และต้องไปขออนุญาติดัดแปลงอาคาร
และบางทีการต่อเติมบ้าน ก็อาจทำให้มีเรื่องผิดใจกับเพื่อนบ้านได้ เนื่องจากมีส่วนที่ยื่นล้ำ เกิน หรือรุกล้ำกินที่กำแพงบ้านออกไป
กฎกระทรวงในการต่อเติมโรงรถ
ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม
กรณีของบ้านทาวน์โฮม ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ.2543 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 50 (1) นั้น กำหนดให้ ผนังของอาคารที่มีหน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศหรือช่องแสง หรือระเบียงของอาคารต้องมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดิน ผนังหรือระเบียงต้องอยู่ห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร แต่เนื่องจากเสาที่ไว้สำหรับรับโครงหลังคานั้นไม่ใช้ผนัง จึงสามารถตั้งในที่ดินของเราได้โดยไม่จำต้องมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินกว่า 2 เมตร จึงสามารถหลังคาต่อเติมให้คลุมบริเวณที่จอดรถภายในบ้านทาวน์เฮ้าส์ได้
ต่อมามีกฎกระทรวงฉบับที่ 68 พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้เพิ่มนิยาคำว่า ““แนวอาคาร” หมายความว่า แนวผนัง เสา หรือบันไดที่อยู่ด้านนอกสุดของอาคาร ยกเว้นบันไดหนีไฟภายนอกอาคารที่มีลักษณะโปร่ง” ดังนั้น เสาจึงถือเป็นแนวอาคารตามนิยามดังกล่าว
ในการตั้งเสาเพื่อรับโครงหลังคาที่ต้องการต่อเติมจึงต้องเว้นระยะตามตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ.2543 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 50 (1) ด้วย เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงด้านนั้น จึงจะเว้นระยะไว้เพียง 50 เซนติเมตรได้
อย่างไรก็ดี ตามตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ.2543 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 33 (1) กำหนดให้อาคารอยู่อาศัย และอาคารอยู่อาศัยรวม ต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30 ใน 100 ส่วนของพื้นที่ชั้นใดชั้นหนึ่งที่มากที่สุดของอาคาร ซึ่งโดยปกติแล้วหมู่บ้านทาวน์เฮ้าส์จะมีการเว้นพื้นที่ว่างไว้ 30 ส่วนพอดีแล้วจึงทำให้ผู้ที่ซื้อบ้านไปนั้นไม่สามารถต่อเติมบ้านได้อีก ดังนั้นตามกฎหมายแล้วการต่อเติมโรงรถหน้าบ้านทาวน์โฮมจึงไม่สามารถทำได้ตามกฎหมายเพราะจะทำให้อาคารอยู่อาศัยหรือบ้านทาวน์โฮมนั้นไม่เหลือการเว้นที่ว่างไว้ตามข้อ 33 ของกฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ.2543 และไม่อาจขออนุญาตต่อเติมบ้านดังกล่าวตามกฎหมายได้
การต่อเติมใดบ้าง ที่ไม่ต้องแจ้งเขต หรือหน่วยงานท้องถิ่น?
การเพิ่มหรือลดเนื้อที่ของพื้นชั้นใดชั้นหนึ่ง หรือเนื้อที่ของหลังคา รวมกันไม่เกิน 5 ตร.ม. และไม่มีการเพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคาน ซึ่งหมายความว่า ถ้าเกินกว่า 5 ตร.ม. ก็ต้องขออนุญาต
หากต้องการทำโรงรถจนชนชิดถึงแนวเขตที่ดิน (แนวอาคาร) ส่วนใหญ่มักเกินกว่า 5 ตร.ม. อันนี้ต้องขออนุญาตจากหน่วยงานท้องถิ่นแล้ว กรณีสร้างชิดติดกำแพงเพื่อนบ้าน ยังต้องมีขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเพื่อนบ้านข้างๆ ด้วยเช่นกันครับ
ติดตามรีวิวรถออกใหม่ เช็คราคาและตารางผ่อนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ พร้อมอัปเดตข่าวสารในวงการรถยนต์ก่อนใคร ที่เว็บไซต์ Autospinn หรือจะค้นหารถมือสอง ราคาโดน ๆ พร้อมโปรโมชั่นที่น่าสนใจ ต้องนึกถึง one2car ตลาดซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย